วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 22 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
เวลา:08.30-12.00 น.

เข้าเรียน:08.25 น.     อาจารย์เข้าสอน:08.40น.     เลิกเรียน:12.00น.
ความรู้ที่ได้รับ
   กิจกรรม ทดลองสอบสอน (กลุ่ม)
หน่วย ข้าว
ตัวอย่างศิลปะจากเมล็ดข้าว (กิจกรรมพิเศษ)

หน่วย กล้วย
ตัวอย่างกิจกรรมการพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย(กิจกรรมพิเศษ)

หน่วย ยานพาหนะ
ตัวอย่างกิจกรรมการเพ้นท์ก้อนหิน (กิจกรรมพิเศษ)

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย
                การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า  Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง  ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ครูควรส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย
     การสอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบ  เช่น
     - กิจกรรมวาดภาพระบายสี
     - กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ  เช่น  เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ
     - กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ
     - กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ
     - กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ
     - กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ
     - กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย
       ฯ ล ฯ

     ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท  โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์  เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน  ฯลฯ ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ  ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย  ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ  ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน  แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก 
การนำไปใช้
   สามารถนำความรู้และแนวการสอนจากเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆไปปรับใช้เมื่อถึงสถานการณ์นั้นๆ เราอาจจะสอนในหน่วยข้าวก็สามารถนำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากของเพื่อนๆไปใช้ และยังนำคำแนะนำจากอาจารย์ที่ได้ให้ไว้กับนักศึกษาทุกกลุ่มในเรื่องของกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
การประเมิน
   ประเมินตนเอง
     มีการเตรียมอุปกรณ์ในการสอนมาร่วมกับเพื่อนๆในกลุ่ม มีการคอยแนะนำและช่วยเหลือเพื่อนๆในกลุ่ม และเมื่อเพื่อนกลุ่มอื่นๆให้ไปเป็นนักเรียนจำเป็นให้ก็ทำด้วยความเต็มใจ มีความสนุกสนานกับการทำกิจกรรมและพยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับให้มากที่สุด
   ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆมีการสอนที่หลากหลาย มีกิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้ได้ดูในขณะสอนก็มีการวางบุคลิกที่เป็นครู ถึงแม้อาจจะมีผิดพลาดไปบ้างแต่ทุกคนก็ตั้งใจอย่างเต็มที่ขอชมเชยจริงๆค่ะ
   ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีคำแนะนำในการทดลองสอนของนักศึกษาที่นำไปปรับใช้ได้จริง มีการยกตัวอย่างกิจกรรมเพื่อนนำไปเป็นแนวทางในการใช้ในการเรียนการสอน และการนำอุปกรณ์ต่างๆมาให้นักศึกษา เพื่อลดรายจ่ายของนักศึกษา ขอบคุณมากๆนะค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น