วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
เวลา: 09.00-12.00น.

เข้าเรียน: 08.50น.     อาจารย์เข้าสอน:09.00น.     เลิกเรียน: 12.00น.
ความรู้ที่ได้รับ
   กิจกรรมที่ 1 จัดนิทรรศการศิลปะ


บรรยากาศภายในห้องที่จัดนิทรรศการ
รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
          นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
          1.  นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ  ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
          2.  นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ  ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
          3.  นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
จุดมุ่งหมายในการจัดนิทรรศการศิลปะ
          1. เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ
          2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความประทับใจ ด้านศิลปะแก่ผู้ชม
          3. เพื่อเพิ่มพูนพัฒนา ความรู้ ทักษะทางศิลปะแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ
          4. เพื่อเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
          5. เพื่อพัฒนา ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้จัดนิทรรศการ
ระยะเวลา ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
          การจัดนิทรรศการชั่วคราวและการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่นั้น ควรกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน การจัดแสดงนิทรรศการผลงานศิลปะ ก็ควรจะเป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับนิทรรศการอื่นๆ  เรื่องระยะเวลานั้นก็คงกำหนดตามความเหมาะสมของสถานที่ ตามโอกาสอันสมควรในแต่ละครั้งคราวไป
สถานที่ในการจัดนิทรรศการศิลปะ
        ควรเป็นสถานที่ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จัก เดินทางสะดวกหรือเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับเรื่องราวที่จะจัดนิทรรศการนั้นๆสถานที่จัดนิทรรศการ สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
        1.  การจัดภายนอกหรือกลางแจ้ง ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นบริเวณที่ว่าง เช่น ลานนอกอาคาร สนามหญ้าระเบียง การจัดนิทรรศการภายนอกใช้จัดกับสิ่งของ เรื่องราวและตัวอย่างงานที่มีขนาดใหญ่ หรือเรื่องที่จัดขึ้นบางครั้งก็มีการจัดสาธิตประกอบ ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดภายในอาคาร
        2.  การจัดภายในหรือในร่ม ได้แก่ การจัดนิทรรศการที่จัดขึ้นในห้องต่างๆ  เช่น ห้องเรียน ห้องโถงกว้างๆ  หรือห้องนิทรรศการโดยเฉพาะ การจัดนิทรรศการภายในใช้กับสิ่งของที่ต้องจัดเป็นสัดส่วน เหมาะสมกับการจัดเฉพาะในร่ม ตลอดจนการดูแลรักษาอาจเป็นระยะเวลายาวนาน และสิ่งของที่นำมาจัดนั้นมีค่าควรอยู่ภายในร่มมากกว่าภายนอกหรือกลางแจ้ง
ขั้นตอนการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ        
        การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ จำเป็นต้องมีการวางแผนงาน เตรียมการ ดำเนินการ และวัดผลประเมินผลจนครบวงจร ซึ่งมีขั้นตอนการจัดนิทรรศการศิลปะโดยทั่วไป ดังนี้
        1. การกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด นั่นคือการเขียนโครงการจัดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล (ประโยชน์และความจำเป็น) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ขั้นตอนการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ การวัดผลประเมินผลและผลที่คาดว่าจะได้รับ (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)
        2. การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ โดยมีตำแหน่งประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายสถานที่ พิธีการ ต้อนรับ การเงิน ประชาสัมพันธ์ โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น
        3. การเตรียมผลงานศิลปะ หรือการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเตรียมจัดแสดง รวมทั้งการติดการ์ด หรือใส่กรอบผลงาน
        4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนไปร่วมชมนิทรรศการทั้งในรูปแบบของการจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ บัตรเชิญ ป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อมวลชน
        5. การเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ เป็นการจัดเตรียมสถานที่ แสง เสียง บอร์ดแสดงผลงาน ไม้ประดับ โต๊ะ เก้าอี้ ริบบิ้นเปิดงาน สมุดเซ็นเยี่ยม และวัสดุอุปกรณ์ อื่นๆ
        6. การจัดงานและพิธีการ เป็นการจัดกำหนดการพิธีการ และดำเนินการเปิดงานแสดงนิทรรศการ เช่น จัดทำ กำหนดการ คำกล่าวรายงาน คำกล่าวเปิดการนำชม การแสดงและการสาธิตผลงาน เป็นต้น
        7. การวัดผลประเมินผล เป็นขั้นสุดท้ายที่ต้องการทราบผลการจัดนิทรรศการว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการหรือไม่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์จากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม จากสมุดเยี่ยมชม และจากที่ประชุมของคณะกรรมการ
หลักการจัดนิทรรศการศิลปะ        
       การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
       1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
              1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ  เพื่อดึงดูดความสนใจ
              1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
              1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
       2. การเขียนตัวอักษร
       การจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
       2.1  ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
       2.2  ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
       2.3  ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
       2.4  ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ  อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
       2.5  แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
       2.6  สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
       3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
       ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ  อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ  งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
       ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย
แหล่งอ้างอิง http://www.trangis.com/somjaiart/e5_6.php
กิจกรรมที่ 2 การนำเสนอรายการสอนศิลป์
 การนำเสนอรายการสอนศิลป์ของเพื่อนๆแต่ละคนจะเป็นการนำเสนอที่นำไปปรับใช้ได้เพราะสื่อทุกๆชิ้นมีความเหมาะสมต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง
ได้รางวัลดาวเป็นสีชอล์ก เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียนต่อไป...
การนำไปใช้
  สามารถนำความรู้ในการจัดนิทรรศการศิลปะนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดผลงานของเด็กในอนาคตซึ่งอาจจะแบ่งเป็นแต่ละกิจกรรม เช่น สีน้ำ สีเทียน การปั้น งานกระดาษฯลฯ และในการนำเสนอรายการสอนศิลป์จะเป็นสื่อ จะทำให้เด็กได้เห็นพัฒนาการของตนเองและผู้อื่นและการนำไปใช้ในส่วนของกิจกรรมการจัดนิททรศการก็ยังเป็นการให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดนี้ด้วย เช่น ให้เด็กเลือกมุมการจัด เลือกผลงานของตนเองจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับเด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ จะเป็นการส่งผลดีต่อเด็กในอนาคตอีกด้วย
การประเมิน
   ประเมินตนเอง
     ครั้งนี้เป็นการเรียนในวิชานี้คาบสุดท้ายจะประเมินตนเองในภาพรวมทั้งเทอมนี้เข้าเรียนตรงเวลา บางครั้งก็ก่อนเวลาและแต่งกายตามระเบียบของสาขาวิชา และมีการเตรียมอุปกรณ์มาในทุกๆครั้งของการเรียน ขณะอาจารย์สอนก็พยายามจดทุกคำที่อาจารย์บอก อาจารย์แนะนำอยู่เสมอ มีการรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการทำกิจกรรมกลุ่มทุกครั้ง ดีใจที่ได้เรียนวิชาศิลปะสร้างสรรค์นี้...
   ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆ ในการเรียนวิชานี้ดูมีความผ่อนคลายมากๆ พูดคุยกันอย่างมีความสุขในขณะทำกิจกรรมการต่างๆเห็นถึงความเสียสละ การแบ่งปันของเพื่อนๆ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันถึงจะพูดมากไปหน่อยก็มีความสุขมากๆ ทำให้บรรยากาศการเรียนมีหลากหลายมากขึ้น ทั้งเงียบทั้งเสียงดัง เวลาเข้าเรื่องวิชาการถึงเพื่อนๆจะดูไม่สนใจไปบ้างแต่ก็ถือว่าตั้งใจฟังดีนะค่ะ เมื่อถึงเวลาที่เพื่อนๆทำกิจกรรมก็ปฏิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อนๆทุกคนน่ารักมากๆ...
   ประเมินอาจารย์
     สำหรับการประเมินอาจารย์ผู้สอนท่านนี้ อาจารย์สุดหล่อของหนู อาจารย์มีการแต่งกายที่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการเป็นครูในอนาคต ถึงแม้จะร้อนแค่ไหนอาจารย์ไม่เคยถอดเสื้อสูทเลยจริงๆนะค่ะ อาจารย์มีการเตรียมอุปกรณ์ให้กับนักศึกษามากมายจริงๆ มีทั้งเนื้อหาดีๆที่เป็นประโยชน์ให้กับนักศึกษาในเรื่องศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย รวมทั้งการแนะนำสิ่งต่างๆในเรื่องการเรียนการสอน สอนเทคนิคการสอนมากมายเพื่อให้นักศึกษาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขอบคุณที่อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ดีกับนักศึกษาเสมอมาค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น